(27) The Mountain Railways of India / (28) Rani Ki Vav / (29) Champaner-Pavagadh Archaeological Park


 

(27) The Mountain Railways of India 

“รถไฟสายภูเขาของอินเดีย” ยูเนสโก้ (UNESCO) ให้คำนิยามรถไฟสายเหล่านี้ว่า “เป็นความยอดเยี่ยมและชาญฉลาดเชิงวิศวกรรมในการสร้างทางรถไฟพิชิตความยากและชันของเทือกเขาสูง” เนื่องจากต้องไต่ขึ้นเขาในสภาพสูงชัน จึงต้องสร้างด้วยระบบรางที่เล็กและใช้หัวจักรดีเซลแบบดั้งเดิม จึงได้ชื่อเล่นที่ผู้คนรู้จักกันดีว่า "Toy Train” มีอยู่ทั้งหมด 5 สาย สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 19-20 ในช่วงที่อินเดียยังตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ แต่ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก มีด้วยกัน 3 สาย คือ 

 1. สายดาร์จีลิ่ง หิมาลัย (Darjeeling Himalayan Railway) สร้างระหว่าง ปี ค.ศ.1879 - 1881 ระยะทาง 78 กิโลเมตร เริ่มจากสถานีต้นทาง นิว จัลปัยกูรี (New Jalpaiguri) ที่ความสูง 100 เมตร สู่ เมืองดาร์จีลิ่ง (Darjeeling) รัฐเบงกอลจะวันตก ที่ความสูงประมาณ 2,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ใช้หัวรถจักรดีเซลเป็นตัวขับเคลื่อนรถไฟ ได้รับการจัดเข้าเป็นมรดกโลกในปีค.ศ. 1999

 2. สายเทือกเขาแห่งนิลกีรี (Nilgiri Mountain Railway) ระยะทาง 46 กิโลเมตร อยู่ในรัฐฑมิฬ นาดู ทางตอนใต้ของอินเดีย สร้างโดยอังกฤษในปีค.ศ. 1908 ปัจจุบันยังใช้หัวรถจักรไอน้ำแบบดั้งเดิมอยู่เป็นบางช่วง วิ่งจากสถานีเริ่มต้นคือ สถานี Coimbatore Junction ที่ความสูง 411เมตร ไปยังสถานี Udhagamandalam ที่ความสูง 2,203 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ได้รับการจัดเข้าเป็นมรดกโลกร่วมกับสายดาร์จีลิ่งในปีค.ศ. 2005

 และ 3. สายกัลก้า - ชิมลา (Kalka-Shimla Railway) ระยะทาง 96 กิโลเมตร ใช้เวลา 5 ชั่วโมง ผ่าน 102 อุโมงค์, 87 สะพาน, 20 สถานี รถไฟค่อยๆ ไต่เริ่มจากสถานีต้นทางกัลก้า (Kalka) ที่ความสูง 656 เมตร สู่ ชิมลา (Shimla) ที่ความสูง 2,076 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผ่านโค้งทั้งสิ้นกว่า 900 โค้ง โค้งที่หักศอกที่สุดถึง 48 องศา ทางรถไฟสายกาลก้า - ชิมลา ถูกจัดรวมเข้ากับรถไฟอีกสองสายข้างบนให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.2008

 ปัจจุบันรถไฟเหล่านี้ก็ยังมีวิ่งอยู่นะ คนชอบกันมากทีเดียว วิวสวย เพลิน และเป็นการเดินทางที่รื่นรมย์มาก บริหารงานโดยการรถไฟแห่งชาติของอินเดีย

ภาพประกอบ: Kalka - Shimla Railway จาก www.tribuneindia.com

 


(28) Rani Ki Vav (The Queen's Stepwell) / Gujarat

บ่อน้ำขั้นบันไดโบราณที่สุดวิจิตรงดงาม ตั้งอยู่ในเมืองปาตัน(Patan) รัฐกุจราช (Gurajat) ทางภาคตะวันตกของอินเดีย ที่นี่ขึ้นชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งบ่อน้ำในอินเดีย” ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2014 สร้างขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 11 โดยราชินี Udayamati ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1958 หลังจากที่ถูกถับถมอยู่ใต้ดินนานนับร้อยปี

Rani Ki Vav (Vav เป็นภาษาท้องถิ่นของกุจราช แปลว่า บ่อน้ำขั้นบันได) เป็นบ่อน้ำบันไดลงด้านเดียว ยาวประมาณ 64 เมตร กว้าง 20 เมตร และลึกถึง 27 เมตร มี 7 ชั้น แต่ละชั้นมีเสาแกะสลัก (ซึ่งบางส่วนได้หักโค่นและลายแกะสลักได้เลือนหายไปบ้างแล้ว) ผนังของทุกชั้นมีลวดลายแกะสลักเรื่องราวของเหล่าทวยเทพไว้อย่างปราณีตกว่า 500 ภาพ ดูได้ไม่เบื่อ บ่อน้ำชั้นที่ 4 มีความลึกที่สุดและเชื่อมต่อไปยังแทงค์น้ำทรงรีกว้าง 9.5 x 9.4 เมตร ลึก 23 เมตร ชั้นสุดท้ายของบ่อ มีประตูลับที่เชื่อมต่อไปยังอุโมงค์ยาว 30 กิโลเมตร ซึ่งสมัยนั้นกษัตริย์สามารถใช้เป็นช่องทางลี้ภัยทะลุออกไปยังหมู่บ้าน Sidhpur ที่อยู่ข้างๆ ได้ ปัจจุบันอุโมงค์นี้ได้ถูกดินโคลนทับถมหมดแล้ว

(29) Champaner-Pavagadh Archaeological Park / Gujarat

Visitors: 92,009