มาม๊ะ.. มัธยประเทศ (Madhya Pradesh) 9 คืน 9 วัน



 

มาม๊ะ...มัธยประเทศ

วันที่เดินทาง :
 
 คืน 16 - 25 กุมภาพันธ์  2024 (๒๕๖๗)
(ปิดทริป 31 ธันวาคม 2023)

จำนวนวัน:  9 คืน 9 วัน
จำนวนคน: ออกเดินทางที่ 4 คน รับไม่เกิน 8 คน 

ราคา : 29,000 บาท / คน (ค่าทริป รวมพาหนะ ผู้นำทริปคนไทย ที่พักพร้อมอาหารเช้า ค่าเข้าชมสถานที่.. ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน)
- พักห้องละ 2 คน / พักเดี่ยวเพิ่ม 9,000 บาท
- ลูกทริปเก่า ลด 1,000 บาท

ตั๋วเครื่องบิน: 
ระหว่างประเทศ บิน Thai Airways ทั้ง 3 เที่ยวประมาณ 12,000 - 15,000 บาท (สะดวกซื้อเองได้ หรือ Inbox เพื่อให้เราซื้อตั๋วให้ก็ได้นะ)

รูปแบบทริป : ทริปกึ่งแบ็คแพ็ค ใช้รถไฟผสมรถยนต์ บางเมืองใช้เดินเท้าเที่ยวเองได้

วีซ่า: จัดการเองได้ หรือ ให้เรายื่นให้ก็ได้จ๊ะ
ราคาใช้จ่ายรวม: ประมาณไม่เกิน 30,000 บาทตลอดทริป
รถที่ใช้: บางช่วงใช้รถยนต์ TOYOTA INNOVA บางช่วงใช้ตุ๊ก รถไฟ และเดิน!!
สภาพอากาศ: อากาศเย็นสบาย


โปรแกรมการเดินทาง


 Day 0 / FRI 16 FEB 2024 : BANGKOK- DELHI
ใช้บริการสายการบิน Thai Airways เที่ยวบินที่ TG 315 เวลา 20:00 มาถึงยังสนามบินแห่งชาตินิวเดลี เวลา 23:00 ผู้นำทริป รอรับที่สนามบิน เดินทางเข้าที่พัก
Overnight: DELHI

 Day 1 / SAT 17 FEB 2024 : DELHI  - GWALIOR (3.5 hours by train) / GWALIOR SIGHT SEEING 
ตื่นแต่เช้าสักหน่อย นั่งรถไฟขบวน Bhopal Shtbdi เวลา 06:00 ไปยังเมือง Gwalior (อาหารเช้าบนรถไฟ)
ถึง Gwalior ประมาณ 10 โมง รถรอรับที่สถานีรถไฟ เที่ยวป้อม Gwalior สัก 2 ชั่วโมง

ป้อมกวาร์ลิเออร์ (Gwalior Fort) สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 มีพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร ตั้งตระหง่านอยู่บนเขาที่ล้อมรอบด้วยกำแพงหินทรายสูง 35 เมตร ป้อมกวาร์ลิเออร์ ผ่านการครอบครองมาโดยเหล่าราชปุต (Rajput) หลายราชวงศ์ จนตกมาอยู่ในการครอบครองของสุลต่านโมกุล และร่วงลงมาอยู่ในอำนาจของจักรวรรดิอังกฤษ ด้วยความที่ผ่านการปกครองมาหลายยุคหลายเจ้าของ ที่นี่จึงมีความผสมผสานกันของงานศิลปะ มีทั้งวัดพุทธ วัดเชน บ่อน้ำ และวังอยู่ภายในหลายแห่ง เป็นป้อมที่ควรค่าแก่การเข้าชมเป็นอย่างยิ่ง
Overnight: Gwalior

Day 2 / SUN 18 FEB 2024 : GWALIOR - ORCHHA (125 kms / 3 hours) / ORCHHA Sight Seeing
เยี่ยมชมพระราชวังไจ วิลาส (Jai Vilas Palace) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองกวาลิเออร์ ถูกสร้างขึ้นในปี 1809 ซึ่งได้รับการออกแบบโดย พ.ต.ท. Sir Michael Filose ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์คินเดีย (Scindia Museum) ซึ่งมีการจัดแสดงคอลเลกชันของโบราณและอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
เดินทางต่อไปยังเมืองออร์ชา (Orchha) โดยรถยนต์

คำว่า "ออร์ชา" แปลว่า “ที่ซ่อนเร้น” แต่กลับเป็นที่รู้จักดีของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก เนื่องจากบรรยากาศที่ถูกบรรยายไว้ว่า “เหมือนย้อนเวลากลับไปในอดีต”....

"ออร์ชา" สร้างโดย รูดร้า ปราตาบ ซิงค์ ในช่วงปี ค.ศ. 1531 (ศตวรรษที่ 16) ซึ่งต่อมากลายเป็นมหาราคนแรกของออร์ชา 
วันนี้ชมพระอาทิตย์ตกที่ริมแม่น้ำ Betta ริมเมืองออร์ชา 
Overnight: Orchha

Day 3 / MON 19 FEB 2024: ORCHHA Sight Seeing
เยี่ยมชม Raja Mahal Complex, Chaturbhuj Temple, Jahangir Mahal, Lakshmi Temple และ Royal Chhatris
เดินเล่น ถ่ายรูปเล่นในเมืองเล็กๆ ของออร์ชา
Overnight: Orchha




ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท


Day 4 / TUE 20 FEB 2024 : ORCHHA - KHAJURAHO (180 kms / 3.5 hours by car)
เก็บตกกันที่เมืองออร์ชากันเล็กน้อย จากนั้นเดินทางต่อไปยังเมืองคชุรโห (Khajuraho)

บ่ายๆ ออกมาตะลุยเมืองคชุรโหกัน! 
“คชุราโห” สันนิษฐานว่าชื่อมาจากภาษาสันสกฤต “คาร์ชุระ” แปลว่า “ต้น อินทผาลัม” กับคำว่า “วาหกะ” แปลว่า “ผู้ถือ” พื้นที่นี้ในอดีตคงเต็มไปด้วยต้นไม้อินทผลัม ค้นพบโดย ร้อยเอก ที.เอส.เบิร์ต(T.S.Burt) นายทหารช่างอังกฤษ ซึ่งไปถึงคชุราโหเมื่อ ค.ศ. 1838 และท่านนายพลอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม ในฐานะอธิบดีกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย ซึ่งได้อ่านรายงานของกัปตันเบิร์ตแล้วสนใจ จึงได้ไปสำรวจที่นั่น เมื่อ ค.ศ. 1852 และ 1864 ใช้เวลานานถึงร้อยปีเศษทำการฟื้นฟูหมู่วิหารและสร้างเส้นทางคมนาคมไปยังคชุรโห

เมืองคชุราโห เดิมเป็นราชธานีของราชวงศ์จันเดลลา (Chandella) ซึ่งเคยปกครองอินเดียตอนกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษ ที่ 7-14 มีวิหารโบราณมากมาย ปัจจุบันเหลือเพียง 22 แห่ง และในจำนวนนี้มีหมู่วิหาร 2 แห่งคือ หมู่วิหารตะวันตก (The World Famous Western Group of Temples) กับหมู่วิหารตะวันออก (Eastern Group or Temples) ทั้ง 22 แห่งนี้ตั้งกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร

 

"หมู่วิหารแห่งขชุราโห" รอดพ้นจากการรุกรานของเหล่าโมกุลเพราะวิหารเหล่านี้ถูกทอดทิ้งอยู่ในป่ารกทึบนานนับพันปี หมู่วิหารที่นี่สร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 10 - 12 ยังอยู่ในสภาพดีแม้ว่าจะผ่านเวลานับพันปีแล้ววิหารกันทาริยา มหาเทพ (kandariya mahadev Temple) ซึ่งเป็นวิหารที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด สร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ จัดว่าเป็นสุดยอดของสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของโลก วิหารที่นี่ไม่ได้มีชื่อเสียงในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ หากแต่มีชื่อเสียงเพราะภาพแกะสลักที่ประดับรอบๆ วิหารคือ “กามสูตร” (Kamasutra) ที่ถ่ายทอดพฤติกรรมการเสพสังวาสและกามตัญหาของมนุษย์ 

 

หมู่วิหารที่เมืองฃสุราโห ได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในลักษณะเด่น 3 ประการคือ ด้านสถาปัตยกรรม ด้านปฏิมากรรม และภาพแกะสลักกามาวิจิตรรอบวิหาร (Architecture, Sculpture and Erotic Panel)

Overnight: Khajuraho

Day 5 / WED 21 FEB 2024 : KHAJURAHO Sight Seeing 
กลุ่มโบราณสถานคชุราโหเป็นเมืองมรดกโลกของยูเนสโก โดยวัดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงในเรื่องของประติมากรรมแนวอีโรติค หรือ แนวกามสูตร สร้างจากหินทราย มีการแบ่งกลุ่มวัดต่างๆ เป็นกลุ่มทิศตะวันตกซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุดเพราะมีวัดใหญ่ๆ ที่สำคัญอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่วัดกานดาริยะมหาเทพ (Kandariya Mahadev) วัดลักษมัน และวัดวิศวนาถ กลุ่มทิศตะวันออกประกอบด้วยวัดในศาสนาเชน เช่น วัดพรสวรรนาถ และกลุ่มทิศใต้ ซึ่งมีวัดจตุรพุชเป็นจุดเด่น

วัดกานดาริยะมหาเทพ ประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญคือ มหามณฑพ (Maha Mandapa) ซึ่งมีเสาหินที่สลักลายตกแต่งอย่างงดงาม และสิงขร (Shikhara) สูง 30 เมตร มีรูปทรงสิงขรขนาดเล็กรายรอบลดหลั่นสูงขึ้นไปตามความสูงถึง 84 ยอด เป็นสัญลักษณ์แทนเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระศิวะ ด้านในสุดภายในวัดมีห้องที่สำคัญที่สุดเรียกว่า “ครรภคฤหะ” (Garbhagriha) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของศิวลึงค์
Overnight: Khajuraho

Day 6 / THU 22 FEB 2024 : KHAJURAHO - JHANSI JUNCTION  - BHOPAL by train (375 Kms)
ออกเดินทางต่อไปยังเมืองโบพาล (Bhopal) เมืองหลวงของรัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh - MP) รถส่งที่สถานีรถไฟในเมือง Jhansi  จากนั้นนั่งรถไฟต่อไปยังเมืองโบพาล ถึงจุดหมายค่ำๆ เข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
Overnight : Bhopal


 


Day 7 / FRI 23 FEB 2024 : BHOPAL Old City Sight Seeing - SANCHI - Udaygiri Caves

วันนี้เช่ารถเที่ยวชมเมืองเก่าของโบพาล และไปชมสถูปสานจี
- กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi)
“สาญจี" เป็นชื่อหมู่บ้านในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ มีอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนากว่า 50 จุดทั้งเสา พระราชวัง วัด และสถูป เริ่มสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 และมีการใช้งานเรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 มีทั้งสภาพทรุดโทรม และบางแห่งยังอยู่ในสภาพดี สถูปที่นี่มีลักษณะเป็นขันคว่ำซึ่งกลายเป็นแบบอย่างในสมัยต่อๆ มา เรียกสถูปว่า “ศิลปะแบบสาญจี” 

ไฮไลท์ของกลุ่มพุทธสถานแห่งนี้คือ "มหาสถูปสาญจี" (Sanchi Stupa) เป็นโครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย แกนกลางของสถูป คือ โครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก "ฉัตรวลี" (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นเก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า (พระเกศา พระทนต์ และพระอังสา) และเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่พระมเหสีองค์แรกของพระองค์ซึ่งประสูติในบริเวณนี้ มีระเบียงและซุ้มประตูอยู่ทั้งสี่ทิศ เรียกว่า "โตรณะ" แกะสลักลวดลายและเล่าถึงพุทธประวัติและพุทธชาดก ในสมัยนั้นยังไม่กล้าประดิษฐ์พระพุทธรูป จึงใช้สัญลักษณ์แทนอาทิ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทนปางปฐมเทศนา สถูปแทนปางปรินิพพาน และ รอยพระบาทแทนพระองค์ เป็นต้น

เนื่องจากสถานที่ตั้งอยู่ห่างไกล กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี เพิ่งจะถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1818 และ ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี 1989
Overnight : Bhopal 

Day 8 / Sat 24 FEB 2024 : Bhopal - Bhimbetka - Bhopal
- Bhimbetka Rock Shelters ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บนที่พำนักหิน บิมเบทก้า
แหล่งดกโลกอีกที่หนึ่งในย่านนี้ ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ซ่อนอยู่ในที่พำนักหินราวๆ 750 จุด ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในระยะ 10 ตารางกิโลเมตร ค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวอินเดีย V. S. Wakankar ภาพเขียนที่ Bhimbetka ไม่ได้อยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้เรียกว่า ภาพเขียนถ้ำ หรือ "Cave Painting" แต่ทว่าอยู่ในซอกหินที่สลับทับซ้อนกัน จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "Rock Shelter" หรือ "ที่พักอาศัยหิน" แทน

ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บนที่พำนักหิน บิมเบทก้า เป็นภาพเขียนบนหินที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ภาพที่มีอายุน้อยที่สุดราวๆ 30,000 ปี บางภาพเก่าแกที่สุดที่ค้นพบมีอายุเกิน 100,000 ปีแล้วด้วย ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บนที่พำนักหิน บิมเบทก้า มีทั้งภาพเขียนของสัตว์ต่างๆ เช่น หมู่ป่า วัว ม้า มีภาพการเต้นรำ การคลอดลูก พิธีกรรมทางศาสนา การล่าสัตว์ ฯลฯ ซึ่งวาดขึ้นมาจากสีธรรมชาติ อาทิ มะนาว เปลือกไม้ ยางไม้ และไขมันสัตว์ ถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผลว่า เป็นภาพเขียนในประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมุษย์ตั้งแต่การรวมกันออกไปล่าสัตว์ การทำเกษตรกรรม การบันเทิง และรวมไปถึงภาพเขียนที่แสดงถึงการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย
กลับเข้ามายังเมือง Bhopal พักผ่อน
Overnight : Bhopal

Day 9 / SUN 25 FEB 2024 : Bhopal - Delhi - Bangkok
ส่งสนามบิน Bhopal เพื่อขึ้นเครื่อง Indigo ไฟท์  6E-6824 เวลา 16:30 - 17:50 กลับไปยังเดลีแล้วต่อเที่ยวบิน ไฟท์ Thai Airways เวลา 00:20 กลับประเทศไทย


 *ราคานี้ “รวม”
• ค่าโรงแรมระดับ 3 ดาว ไม่หรูหรา แต่สะอาด เก๋ไก๋และบรรยากาศดี พร้อมอาหารเช้า
• ค่าเช่ารถพร้อมคนขับ ค่ารถไฟชั้น 2A  ค่าตุ๊กๆ และค่าเดินทางต่างๆ
• ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าจอดรถ และค่าภาษีต่างๆ 
• รวมค่าเข้าชมสถานที่ทุกแห่ง


*ราคานี้ “ไม่รวม” 
• ค่าตั๋วเครื่องบินและค่าวีซ่า
• ค่าอาหารกลางวันและอาหารเย็น
• ค่าเครื่องดื่มต่างๆ

• ค่าทิปเด็กเสิร์ฟ เด็กยกกระเป๋า และคนขับรถวันละประมาณ 100 รูปี/คน หรือตามความพึงพอใจ


การจองทริป


 1. ส่งแบบฟอร์มยืนยันการเดินทางด้านล่าง
2. โอนมัดจำทริป 5,000 บาทเข้าบัญชีด้านล่าง 
น.ส. เนตรทราย อินทรเจริญศักดิ์ 
ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 372-217409-4 
ธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 568-2-05142-8 
จำนวนเงินส่วนที่เหลือจ่าย 15 วันก่อนออกเดินทาง! 
3. จองตั๋ว จัดการวีซ่า แล้วก็ลุย!


 

ทริป "มาม๊ะ มัธยประเทศ"

สนใจจะมาลุยกับเรา ลงชื่อได้เลยจ้าาาา
Visitors: 91,885