(5) Taj Mahal / (6) Agra Fort / (7) Fatehpur Sikri / (8) The Great Living Chola Temples


 

(5)Taj Mahal / Uttra Pradesh

จะมาอินเดีย ก็ต้องนึกถึง “ทัชมาฮาล” ก่อน นอกจากจะเป็นมรดกโลกแล้วยังเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่อีกด้วย 

สุสานหินอ่อนแห่งความรักที่สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ จาฮัน สร้างให้แกพระมเหสีผู้เป็นที่รัก คือ อรชุมันท์ พานุ เพคุม ต่อมาพระองค์เรียกนางว่า “มุมตัซ มาฮาล” (แปลว่า อัญมณีแห่งราชวัง) ทั้งสองเข้าพิธีอภิเสกสมรสเมื่อพ.ศ. 2155 ตลอดเวลาทั้งคู่ไม่เคยอยู่ห่างกันเลย จนในปี พ.ศ. 2174 พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 ทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ จาฮันโศกเศร้ามาก และได้ใช้ราชสมบัติส่วนใหญ่ไปกับการสร้างสุสานและอนุสรณ์แห่งความรักแห่งนี้

ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับชั้นดีจากมิตรประเทศ สัดส่วนวิจิตรและงดงาม มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้อีก

ทัมมาฮาล ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1983


 

(6) Agra Fort / Uttra Pradesh

ป้อมอัครา หรือ ป้อมแดงแห่งอัครา (Red Fort of Agra) ข้างนอกแด้ง...แดง แต่ข้างในมีทั้งสร้างจากหินแดง อิฐ และ หินอ่อน

ป้อมอัครามีประวัติอันยาวนาน เปลี่ยนผู้ครอบครองมาหลายราชวงศ์ ทั้งกษัตริย์ฮินดู สุลต่านแห่งเดลี จักรพรรดิโมกุลและเหล่ารัชทายาทอีกหลายรุ่น ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1080 ป้อมอัคราเป็นเพียงป้อมปราการที่สร้างด้วยอิฐ โดยราชบุตรแห่งวงศ์ศิกวะ (Sikarwar) และต่อมาได้มีการก่อสร้างพระราชวัง บ่อน้ำ หอคอย และมัสยิดภายในป้อมอีกหลายแห่ง จนถึงสมัยพระเจ้าอับดุล ฟาซัล (Abdul Fazal) ได้ทรงส่งให้บูรณะซ่อมแซมตัวป้อม และมอบหมายให้สถาปนิกออกแบบใหม่ตั้งแต่รากฐาน โดยใช้อิฐเป็นโครงสร้างด้านใน และปิดด้านนอกด้วยหินทรายสีแดง เป็นป้อมปราการที่ยาวกว่า 2.6 กิโลเมตร แรงงานกว่า 8,000 คนถูกเกณฑ์มาสร้าง ใช้เวลาถึง 8 ปี และเสร็จสมบูณ์ในปีค.ศ. 1573

จนถึงในสมัยของ พระจักรพรรดิชาห์ จาฮัน (Shar Jahan) หลังจากสร้าง "ทัชมาฮาล" ให้แก่ พระนางมุมทัส มาฮาล พระมเหสีของพระองค์แล้ว พระองค์ยังทรงให้ทำลายอาคารภายในป้อมบางแห่งทิ้ง เพื่อสร้างอาคารแบบใหม่ด้วยหินอ่อนสีขาว ตกแต่งด้วยทอง และอัญมณีหลากสี ตามแบบที่พระองค์โปรดปราน จึงทำให้ป้อมอัครามีรูปร่างและความหลากหลายทางสถาปัตยกรรมอย่างที่เห็นในปัจจุบัน 

ป้อมอัครา ได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1983

ภาพประกอบโดย: พี่ปี Jan Punya


 


 

(7)Fatehpur Sikri / Uttra Pradesh

ฟาเตห์ปูร์ สีกรี (Fatepur Sikri) เป็นเมืองร้าง ตั้งอยู่ในบนเขาในรัฐอุตตรประเทศ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1569 โดยจักรพรรดิอัคบาร์ (Emperor Akbar) เพื่อใช้เป็นเมืองหลวงใหม่แทนเมืองอัครา(Agra) ด้วยคำแนะนำของนักบุญที่พระองค์นับถือชื่อ “ซาลิม คิชติ" (Salim Chishti) ใช้เวลาออกแบบและสร้างนาน 15 ปี แต่ก็ถูกทิ้งร้างในปี ค.ศ. 1585 หลังสร้างเสร็จเพียงไม่นาน เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำ และที่ตั้งของเมืองอยู่ใกล้กับเขตของอาณาจักรราชปุตนะทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบบ่อยครั้ง จักรพรรดิอักบาร์ จึงมีพระราชดำริให้ย้ายเมืองหลวงไปยังลาฮอร์แทน 

ชื่อเมืองมาจากภาษาอาหรับว่า “ฟะเตฮาบาด" (Fatehabad) คำว่า "ฟัตห์" แปลว่า "ชัยชนะ" และต่อมากลายเป็น "ฟาเตห์ปูร์ สีกรี" (Fatehpur Sikri… นครแห่งชัยชนะ) ภายนอกมีกำแพงเมืองรอบด้าน ภายในมีทั้ง พระราชวัง ตำหนัก ฮาเร็ม ศาล มัสยิด และอาคารสาธารณูปโภคต่างๆ ผังเมืองวางตามแบบราชสำนักเปอร์เซีย ใส่รายละเอียดแบบอินเดีย ใช้หินทรายสีแดงที่มีแหล่งอยู่ใกล้เคียง เนื่องจากใช้งานเพียงไม่กี่ปีจึงทำให้ฟาเตห์ปูร์ สิกรี เป็นสิ่งปลูกสร้างในสถาปัตยกรรมโมกุลที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดในอินเดีย

ฟาเตห์ปูร์ สิกรี ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี 1986

(8) The Great Living Chola Temples / Tamil Nadu

มหาเทวสถานแห่งโจฬะ ราชวงศ์โจฬะ เป็นราชวงศ์ที่ปกครองทางตอนใต้ของอินเดีย รุ่งเรืองตลอดมาตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 สิ่งที่สำคัญของราชวงศ์โจฬะคือการเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณคดีทมิฬ และการก่อสร้างวัดซึ่งโดดเด่น สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ และไม่ใช่เพียงเพื่อไว้เป็นที่สักการะบูชา แต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจการทางเศรษฐกิจด้วย วัดฮินดู 3 แห่งที่ได้รับการยกย่องให้ให้เป็นมรดกโลกร่วมกัน คือ วัดบริหดีศวรา ณ ตัณจาวูร์ (the Brihadisvara Temple at Thanjavur), วัด ณ คังไคโกณฑะโจฬะปุรัม (the Temple at Gangaikonda cholapuram) และ วัดไอราเวเตชาวรา ณ ทาราซูรัม (the Airavatesvara Temple at Darasuram) เอกลักษณ์ของศิลปะของมหาเทวสถานแห่งโจฬะ คือการสร้างวัดด้วยหิน และไม่มีการทาสีเหมือนวัดที่อื่นๆ ในอินเดียใต้ มีการแกะสลักตั้งแต่บันไดขั้นแรกจนถึงยอดวิมาน

มหาเทวสถานแห่งโฐฬะ ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1987


  • มหาเทวสถานแห่งโจฬะ ราชวงศ์โจฬะ อยู่ในทริปนี้ คลิกเพื่อดูรายละเอียด
Visitors: 91,978