(9) Buddhist Monuments at Sanchi / (10) Rock Shelters of Bhimbetka / (11) Konark Sun Temple

(9)Buddhist Monuments at Sanchi / Madhya Pradesh

กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi) 

“สาญชี” เป็นชื่อหมู่บ้านในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ มีอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนากว่า 50 จุดทั้งเสา พระราชวัง วัด และสถูป มีอายุอยู่ตั้งแต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 และมีการใช้งานเรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 มีทั้งที่สภาพทรุดโทรม และบางแห่งยังอยู่ในสภาพดี

ไฮไลท์ของกลุ่มพุทธสถานแห่งนี้คือ มหาสถูปสาญจี (Sanchi Stupa) เป็นโครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย สร้างโดยคำสั่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 แกนกลางของสถูป คือ โครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก ฉัตรวลี (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ สถูปมีระเบียงและซุ้มประตูอยู่โดยรอบ เรียกว่า "โตรณะ" แกะสลักลวดลายและตกแต่งอย่างหรูหรา และยังอยู่ในภาพที่ดีเยี่ยม

เนื่องจากสถานที่ตั้งอยู่ห่างไกล กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี จึงเพิ่งจะถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1818 และ ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี  1989

เรียบเรียงจาก wikipedia.com
ภาพจาก rakheeghelani.com 

(10) Bhimbetka Rock Shelter / Madhya Pradesh
ภาพเขียนผนังหินก่อนประวัติศาสตร์ ที่ บิมเบฎก้า

...........

การเดินทางไป บิมเบฎก้า ต้องเข้าไปในป่า ไม่มีอะไรเลยนอกจากต้นไม้ และหินกว้างไกลสุดลูกหูลุกตา แต่ทว่าเมื่อได้ไปเห็นภาพเขียนบนผนังหินแล้ว รู้ตึกตื่นตาตื่นใจบอกไม่ถูก 
.... เหมือนนาฬิกามันหยุดเดินอยู่ตรงนั้น
.... เหมือนเป็นประตูทะลุมิติ เชื่อมห้วงเวลาของรุ่นก่อนๆ กับ รุ่นเราๆ 
.... เหมือนเป็นมรดกที่คนรุ่นก่อนๆๆๆ วาดเล่าเรื่องให้เราดู

ค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวอินเดีย V. S. Wakankar ภาพเขียนที่ Bhimbetka ไม่ได้อยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้เรียกว่า ภาพเขียนถ้ำ หรือ "Cave Painting" แต่ทว่าอยู่ในซอกหินที่สลับทับซ้อนกัน จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "Rock Shelter" หรือ "ที่พักอาศัยหิน" แทน

ภาพเขียนบนหินที่ บิมเบฎก้า เป็นเหมือนหนังสือเล่าเรื่องราวของมนุษย์ยุคหินหลายชั่วอายุคนที่เคยอาศัยอยู่ถิ่นนี้มาก่อน มีทั้งภาพเขียนของสัตว์ต่างๆ เช่น หมู่ป่า วัว ม้า มีภาพการเต้นรำ การคลอดลูก พิธีกรรมทางศาสนา การล่าสัตว์ ฯลฯ ซึ่งวาดขึ้นมาจากสีธรรมชาติ อาทิ มะนาว เปลือกไม้ ยางไม้ และไขมันสัตว์ ภาพเขียนเหล่านี้มีอายุราวๆ 30,000 ปีมาแล้ว จัดอยู่ในปลายยุคหินเก่า จนถึงยุคกลาง 

Bhimbetka Rock Shelter ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก (World Heritage) ในปี 2003

 

(11) Konark Sun Temple / Odisha

เทวสถานโกนารัก ตั้งอยู่ใกล้แนวชายฝั่งทะเลในเขตเมืองปูริ (Puri) ของรัฐโอริสสา (Odisha) สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์นรสิงห์ที่ 1 แห่งราชวงศ์คงคา ประมาณคริสศตวรรษที่ 13 ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ราชครูปาปะ พรามครี ตัววัดถูกพบในป่ารกชัฎ และมีเกลือจากทะเลปกคุลมหนาแน่น ต่อมาชาวอังกฤษนำทีมโดย เฟอร์กัสสัน ได้เข้ามาสำรวจในปี พ.ศ. 2380 เริ่มทำการบูรณะในปี พ.ศ.2425 มีการย้ายประติมากรรมบางส่วนไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองกัลกัตตา (Kalkata) และบูรณะเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2453

เทวสถานโกนารัก สร้างตามความเชื่อและศรัทธาในองค์สุริยะเทพ มีวิหารแกะสลักภาพร่ายรำบูชาพระอาทิตย์, มีปฎิมากรรมแห่งกามาสูตร คล้ายที่คชุรโห (Khajuraho), มีมณฑปสร้างอุทิศให้พระนางมายาเทวี ชายาของสุริยะเทพ และ มีราชรถซึ่งเชื่อว่าองค์สุระยะเทพทรงขี่ม้าทรงพระอาทิตย์ ลากราชรถเดินทางสู่สรวงสวรรค์

ส่วนที่โดดเด่นและยังสมบูรณ์ที่สุด คือ วิหารทรงพีรามิด รอบฐานมีกงล้อรถ 12 ล้อ แทน 12 ราศี แต่ละกงล้อสูง 10 ฟุต ที่ฐานกงล้อแกะสลักเป็นรูปช้างรองรับอย่างสวยงาม ส่วนที่เป็นห้องใหญ่ใช้ในการทำพิธียังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เทวสถานแห่งโกนารักนี้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะที่เรียกว่าโอริเซียนสไตล์ ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏอยู่ในเทวสถานภายในแถบแคว้นโอริสสาเท่านั้น

เทวสถานโกนารัก ถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปีค.ศ. 1984

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

Visitors: 101,574